ประวัติเมืองพิบูลมังสาหาร

ประวัติเมืองพิบูลมังสาหาร

           มูลเหตุการตั้งเมืองพิบูลมังสาหาร ปีพุทธศักราช 2402 พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 มีภรรยา (หม่อม) 7 คน มีบุตร-ธิดารวมทั้งหมด 31 คน และในจำนวนบุตรทั้งหมดมีหลายคนซึ่งพอจะเป็น เจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ ราชบุตร ทำราชการให้แก่บ้านเมืองได้ จึงปรึกษาคณะกรรมการเมืองต่างมีความเห็นพ้องกันว่า
1.ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเมืองพิบูลมังสาหาร
1.1 พระราโชบายของพระมหากษัตริย์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เสด็จ
ขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบ้านเมืองอยู่ในสภาพแตกกระจายเป็นก๊ก เป็นเหล่า จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวม
ไพล่พลให้เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นเมือง จึงมีราโชบายให้จัดตั้งเมืองขึ้นและได้ถือเป็นแนวปฏิบัติของพระมหา
กษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ มา ดังนั้นเมื่อมีเจ้าเมืองใดขอตั้งเมืองใหม่จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองได้ตามประสงค์
1.2 การปกครอง พระพรหมวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 (พ.ศ. 2388-2409) มีบุตรหลายคน เห็นว่าท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็นบุตรคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและกล้าหาญ เมื่อตั้งเป็นเจ้าเมืองแล้วปกครองอาณาประชาราษฎร์ ให้มีความร่มเย็นสงบสุขได้ และเป็นการขยายเขตการปกครองเพิ่มขึ้นด้วย 
2.โปรดเกล้า ฯ ตั้งเมืองพิบูลมังสหาร

เมื่อตั้งเป็นบ้านกว้างลำชะโดแล้ว ต่อมามีราษฎรเข้ามาอาศัยอยู่หนาแน่นขึ้นพอที่จะตั้งเป็นเมืองได้
จึงจัดสร้างศาลาว่าการขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลแล้วรายงานไปยังพระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมือง
อุบลฯ ซึ่งเจ้าเมืองอุบลฯ ก็เห็นชอบด้วย จึงมีใบบอกกราบเรียนเจ้าพระยากำแหงสงครามเจ้าเมือง
นครราชสีมาเพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ ขอตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็น “เมืองพิมูลมังษาหาร” เมื่อวัน
อาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เบญจศกจุลศักราช 1225 ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2406
และโปรดเกล้า ฯ ตั้งท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็นพระยาบำรุงราษฏร์ เจ้าเมืองให้ท้าวโพธิ
สาราช (เสือ) เป็นอุปฮาด (อุปราช) ให้ท้าวสีฐาน (สาง) เป็นราชวงศ์ ให้ท้าวขัติยะ (ผู) เป็นราชบุตร
ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี ตามที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านกว้างลำชะโดเป็น “เมืองพิมูล
มังษาหาร” นั้นเห็นจะให้ตรงกับลำน้ำซึ่งให้แต่เดิมเรียกว่า ลำน้ำมูลและเพื่อให้เมืองพิมูลฯเป็นคู่กับ
พิมายซึ่งตั้งอยู่เหนือลำน้ำมูลขึ้นไป
ตามพระราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมาในการตั้งเมืองขึ้นมาใหม่ พระมหากษัตริย์จะทรงโปรดเกล้าฯ พระราช
ทานนามเมือง นามเจ้าเมืองพร้อมบรรดาศักดิ์และพระราชทานเครื่องยศ ส่วนเจ้าเมืองตามฐานะเมืองนั้น ๆ ด้วย ส่วนเมืองพิมูลมังสาหารเจ้าเมืองได้รับพระราชทานเครื่องยศส่วนเจ้าเมืองซึ่งประกอบด้วย

1. ถาดหมากเงิน
2. คนโฑเงิน
3. สัปทนแพร
4. ผ้าวิลาสห่มนอน
5. แพรสีทับทิมติดขลิบ
6. เสื้อเข้มขาบ
7. แพรขาวห่ม
8. ผ้าม่วงจีน
3.เจ้าเมืองและคณะอาญาสี่เมืองพิบูลมังสาหาร
เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองและ
คณะอาญาสี่หรือคณะอาชญาสี่ที่ปกครองเมืองก่อนการปฏิรูปการปกครองดังนี้
3.1 เจ้าเมืองพระบำรุงราษฎร์ นามเดิมท้าวธรรมกิตติการ (จูมมณี) ครองเมือง พ.ศ. 2406-2430
อุปฮาด ท้าวโพธิสาราช (เสือ)
ราชวงศ์ ท้าวสีฐาน (สาง)
ราชบุตร ท้าวขัติยะ (ผู)
3.2 เจ้าเมือง พระบำรุงราษฎร์ นามเดิมขัติยะ (ผู) ครองเมือง พ.ศ. 2430-2455
อุปฮาด ท้าวลอด เป็นบุตรของพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
ราชวงศ์ ท้าวมิน เป็นบุตรพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
ราชบุตร ท้าวแสง เป็นพระบุตรพระบำรุงราษฎร์ (ผู)

3.3 แหล่งอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งเมืองเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลที่อุดมสมบูรณ์ ดินดี มีแม่น้ำสาขาหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำมูล จึงทำให้บริเวณนี้อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและสัตว์น้ำนานาชนิด เหมาะแก่การทำไร่ไถนาปลูกข้าวซึ่งสามารถเป็นแหล่งเสบียงอาหาร , กำลังคนทั้งในยามสงบและเมื่อมีศึกสงคราม

3.4 เมืองหน้าด่าน ในขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสได้แผ่ขยายล่าอาณานิคมเพื่อหาเมืองขึ้นในประเทศเวียตนาม และเขมร ได้ขยายเข้ามาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและมีทีท่าว่าจะรุกล้ำเข้ามาตามลำน้ำมูล ซึ่งหากมีการรุกล้ำดินแดนเกิดขึ้นจริง เมืองพิบูลมังสาหารจะเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถต่อต้านข้าศึกสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูเข้ามาถึงเมืองอุบลราชธานีโดยง่าย

ขื่อบ้านขางเมือง มีทั้งหมด 17 ตำแหน่ง 

1) เมืองแสน มีหน้าที่ กำกับดูแลฝ่ายกำลังพลของเมือง
2) เมืองจันทร์ มีหน้าที่ กำกับดูแลการทำหน้าที่ฝ่ายพลเรือน
3) เมืองขวา4) เมืองซ้าย5) เมืองกลาง มีหน้าที่กำกับดูแลพัสดุของเมือง ดูแลในการคุมขังหรือปลดปล่อยนักโทษ ควบคุมบัญชีจำนวนราษฎร (หรือเลก) ที่มีอยู่และแทงจำหน่ายเลกที่ไปมีภรรยาที่ต่างเมืองหรือย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองของตน
6)เมืองคุก7) เมืองฮาม8) เมืองแพน มีหน้าที่ควบคุมนักโทษต้องขังหรือเป็นพัศดีเรือนจำ ทำหน้าที่ช่วยเหลือเมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง
9) นาเหนือ10) นาใต้ มีหน้าที่จัดหาเสบียงอาหาร (ข้าว) เก็บไว้ในยุ้งฉาง สำรวจสำมะโนครัว 3 ปี ต่อครั้งเก็บส่วยจดทะเบียนสัตว์พาหนะ และแทงจำหน่ายราษฎร (เลก)
11) ซาเนตร12) ซานนท์ มีหน้าที่เป็นเสมียนเมือง
13) มหาเสนา 14) มหามนตรี มีหน้าที่ออกคำสั่ง กำกับดูแลพิธีการต่าง ๆ ของเมือง
15) ซาบัณฑิต มีหน้าที่ เป็นพนักงานอ่านตราสารและอ่านประกาศของกรมการเมืองผู้ใหญ่เวลาประชุม
16) กรมเมือง 17) สุโภ มีหน้าที่ เป็นแม่ทัพฝ่ายทหารสูงสุดของเมือง

ตำแหน่งพิเศษ มีอยู่ทั้งหมด 17 ตำแหน่ง

1)เพียซาโนซิด 2) เพียซาภูธร 3) เพียราชต่างใจ 4) เพียคำมงคล มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือคนสนิทของเจ้าเมือง 5)เพียซาบรรทม มีหน้าที่ จัดที่พักหรือที่หลับนอนของเจ้าเมือง 6)เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเพียง มีหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานติดตามเจ้าเมืองเมื่อเดินทางไปที่ต่าง ๆ 7)เพียซาหลาย (ดาบ) คำ มีหน้าที่เชิญพระแสงหรือเชิญดาบของเจ้าเมือง 8)เพียซามณเฑียร มีหน้าที่ ดูแลรักษาปราสาทที่ประทับหรือโฮง (ที่พัก) ของเจ้าเมือง 9)เพียซาบุฮุม มีหน้าที่กั้นกลดหรือพัดจามร 10)เพียซามาตย์อาชาไนย มีหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรือวิศวกรรม 11)เพียแขกขวา 12) เพียแขกซ้าย มีหน้าที่รับแขกต่างด้าวท้าวต่างแดน 13)เพียศรีสุนนท์ 14) เพียศรีสุธรรม 15) เพียศรีบุญเรือง 16) เพียศรีอัครฮาด 17) เพียศรีอัครวงศ์ มีหน้าที่จัดการศึกษาและจัดการด้านพระพุทธศาสนา

 ตำแหน่งสำหรับหมู่บ้าน มี 4 ตำแหน่ง ซึ่งเทียบได้กับตำแหน่งปัจจุบัน คือ

1) ท้าวฝ่าย เทียบได้กับ ตำแหน่งนายอำเภอ 2) ตาแสง เทียบได้กับ ตำแหน่งกำนัน 3) พ่อบ้านหรือนายบ้าน เทียบได้กับ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 4) จ่าบ้าน เทียบได้กับ ตำแหน่งสารวัตรหมู่บ้านหรือตำบล รูปแบบการปกครองของหัวเมือง ภาคอีสานหรือของเมืองพิบูลมังสาหาร เป็นรูปแบบสืบทอดเป็นจารีตแนวปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งหลวงพระบาง เวียงจันทร์เป็นราชธานี ตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งรวมเรียกผู้ที่ดำรงตำแหน่งว่า “คณะกรมการเมือง”
การเปลี่ยนแปลงคณะปกครอง (อาญาสี่) ตอนต้นหลังจากที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด
ราชวงศ์ ราชบุตร ต่างก็ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อยจนกระทั่งปีพุทธศักราช 2415 ราชวงศ์ (สาง) ได้ถึงแก่
กรรมด้วยโรคหืด คณะกรมการเมืองพร้อมด้วยญาติและลูกหลานจึงได้จัดพระราชทานเพลิงศพมีงานบำเพ็ญกุศล 7 วัน 7 คืน เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้วจึงพิจารณาเสนอขอให้ “ท้าวมิน” (บุตรพระบำรุงราษฎร์-จูมมณี) เป็นราชวงศ์
แทน บริหารราชการบ้านเมืองสืบไป
ปีพุทธศักราช 2421 อุปฮาด (เสือ) ซึ่งเป็นพี่ชายของพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา
สิริอายุ 63 ปี ต้องเก็บศพไว้ 1 ปี เพื่อรอรับพระราชทานศิลาหน้าเพลิง หลังจากคณะกรมการเมืองพระราชทาน
เพลิงศพอุปฮาด (เสือ) แล้วจึงพิจารณาเสนอท้าวลอดบุตรพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) ที่เกิดแต่ภรรยาคนที่ 1
(หม่อมขิ่ง) เป็นอุปฮาดแทน ปีพุทธศักราช 2430 พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) ซึ่งครองเมืองมาประมาณ 25 ปี ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรค
ชรา สิริอายุ 73 ปี ต้องเก็บศพไว้ 1 ปี เพื่อรอรับพระราชทานศิลาหน้าเพลิงช่วงเวลาที่ว่างเจ้าเมืองนี้
ราชบุตร (ผู) ได้รักษาการในตำแหน่งแทน เมื่อศิลาหน้าเพลิงตกมาถึงจึงทำพิธีพระราชทานเพลิงศพจนแล้ว
เสร็จ ได้พิจารณาเสนอขอให้ราชบุตร (ผู) เป็นพระ บำรุงราษฎร์ (เจ้าเมืองคนที่ 2) ส่วนตำแหน่งราชบุตรที่
ว่างลงเจ้าเมืองคนที่ 2 ได้พิจารณาขอให้ท้าวแสง (บุตรที่ติดมากับหม่อมคำพัน เมียของเจ้าเมืองคนที่ 2)
เป็นราชบุตรแทน
ปีพุทธศักราช 2438 ราชบุตร (แสง) ได้ถึงแก่กรรมและราชวงศ์ (มิน) ก็ขอลาออกตำแหน่งอาญาสี่จึงว่างอยู่2 ตำแหน่ง คณะกรมการเมืองจึงพิจารณาขอให้ท้าวสิงห์เป็นราชบุตร และขอให้ท้าวสุริยมาตย์ (เขียว) เป็นราชวงศ
ปีพุทธศักราช 2443 ทางราชการเปลี่ยนเมืองพิมูลมังษาหาร เป็นอำเภอพิบูลมังษาหาร ให้พระบำรุง
ราษฎร์ (ผู) เจ้าเมืองคนที่ 2 เป็นนายอำเภอพิบูลมังสาหาร ให้อุปฮาด (ลอด) ราชบุตร (สิงห์) และราชวงศ์
(เขียว) เป็นปลัดขวา ปลัดซ้าย และผู้ช่วยปลัดตามลำดับ
ปีพุทธศักราช 2455 ทางราชการได้แต่งตั้งหม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอพิมูล
มังสาหาร ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าที่ว่าราชการหรือที่ว่าการอำเภออยู่ใกล้แก่งสะพือเป็นจุดล่อแหลมต่ออันตราย
จากการบุกรุกทางเรือ (แม่น้ำมูล) จากชาติฝรั่งเศสได้ง่ายจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ไปตั้งที่บ้านวังแคน (ที่ตั้ง
โรงเรียนวังแคนปัจจุบัน) จนถึงปีพุทธศักราช 2459 สมัยพระวิภาคย์พจนกิจดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ฯ เห็นว่า
ห่างไกลชุมชนและไม่สะดวกต่อการไปติดต่อราชการของประชาชน จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ท่าน้ำมูล
(สำนักงานสาธารณสุขและมาลาเรีย อำเภอพิบูลมังสาหาร -ปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่อยู่
ปัจจุบันนี้
ปีพุทธศักราช 2482 ได้เปลี่ยนเขียนชื่ออำเภอเป็น “พิบูลมังสาหาร”อาณาจักรโบราณที่เกี่ยวข้อง

นักประวัตศาสตร์เชื่อว่า ราวพุทธศตวรรษที่ 11 อาณาจักรฟูนันเสื่อมสลาย อาณาจักร “เจนละ”
ได้เข้ามาครอบครองแทนที่ โดยที่กษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าภวรมันที่ 1 เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจ
และได้ปกครองดินแดนบริเวณนี้ อาณาจักรเจนละมีอิทธิพลระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-14 มีจัดศูนย์
กลางอยู่ที่วัดภู เขตนครจำปาศักดิ์และแผ่ขยายอำนาจในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางถึงตอนล่าง ลุ่มแม่น้ำ
มูล-ชี ในภาคอีสานของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงแสดงให้เห็นได้ว่าบริเวณที่เป็นอำเภอพิบูลมังสาหาร
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ของอาณาจักรเจนละมาก่อนนั่นเอง
กษัตริย์องค์สำคัญของอาณาจักรเจนละคือ “จิตรเสน” ทรงพระนามว่า “มเหนทรวรรมัน” โอรสของจิตรเสนคือ
“อีสานวรรมัน” ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่ง ทรงตั้งเมือง “อีสานปุระ” เป็นเมืองหลวง เชื่อว่าตั้ง
อยู่ทางเหนือของนครธมประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยในปัจจุบัน อาณาจักรเจนละมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม
กับดินแดนภาคอีสานและสาธารณรัญประชาธิปไตยประชาชนลาวค่อนข้างมากเพราะได้พบร่องรอยหลักฐานทาง
ศิลปะและโบราณวัตถุมากมาย เช่นปราสาทวัดภู เขตจำปาศักดิ์ (ลาว) อันเป็นที่ประดิษฐาน “เทพเจ้าภัทเรศวร”
หลักศิลาจารึกอักษรปัลลวะบริเวณปากมูล ส่วนในพื้นที่อำเภอพิบูลมังสาหารพบซากโบราณวัตถุหินทรายและ
สระน้ำที่วัดสระแก้ว (วัดใต้) ซากปราสาทหินและฐานศิวลึงค์บริเวณ โรงเรียนสะพือใต้ ทับหลังที่อยู่ในสภาพที่
สมบูรณ์และเก็บไว้ที่โบสถ์วัดสระแก้วในขณะนี้

การแบ่งเขตปกครองเป็นอำเภอแยกจากอำเภอพิบูลมังสาหาร

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้า ฯ ตราพระราชบัญญัติการ
ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) เมือง “พิบูลมังสาหาร” เปลี่ยนเป็นอำเภอพิบูลมังสาหาาร” มีอาณา
เขตกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 3646.24 ตารางกิโลเมตร ทำให้การกำกับดูแลบริหารราชการไม่ค่อยทั่วถึง
ประกอบกับการคมนาคมไม่สะดวกจึงทำให้การติดต่อระหว่างชุมชนเป็นไปด้วยความลำบากและล่าช้า ครั้น
ต่อมา เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น มีชุมชนแน่นขึ้นและมีความเจริญขึ้นกว่าเดิมเพื่อประโยชน์ทางการปกครอง
การให้บริการของรัฐและความสะดวกของประชาชนทางราชการเห็นว่าที่ใดพอจะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอและ
อำเภอได้ จึงได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งเขตการปกครองแยกออกจากอำเภอพิบูลมังสาหาร ตาม
ลำดับดังนี้
1. อำเภอโขงเจียม เดิมเป็นเมืองของเจียม (เพี้ยนมาเป็น “โขงเจียม”) ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2364 แต่มีการเปลี่ยน
แปลงไปขึ้นสังกัดกับเมืองต่าง ๆหลายเมืองหลายวาระและมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกหลายชื่อและหลายครั้ง
โขงเจียม ด่านปากมูล สุวรรณวารี บ้านด่านและโขงเจียม ตามลำดับ พ.ศ. 2443 เป็นกิ่งอำเภอด่านปากมูล
สังกัดอำเภอพิบูลมังสาหาร พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอด่านปากมูล (ชาวบ้านมักเรียกว่า “บ้านด่าน”) จน
กระทั่ง พ.ศ. 2502 ทางราชการได้แยกพื้นที่ซีกทางทิศตะวันตกตั้งเป็น “อำเภอศรีเมืองใหม่” (ครั้งแรกชื่ออำเภอ
โขงเจียมแต่ได้เปลี่ยนเป็นอำเภอศรีเมืองใหม่ภายหลัง) ปัจจุบันอำเภอโขงเจียมมีพื้นที่ 901 ตารางกิโลเมตร
อำเภอศรีเมืองใหม่มีพื้นที่ 1,330 ตารางกิโลเมตร

2.อำเภอตาลสุม เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2521 ทางราชการได้แยกพื้นที่ตำบลตาลสุม ตำบลจิกเทิง
ตำบลสำโรง ออกจากอำเภอพิบูลมังสาหาร และตั้งตำบลขึ้นใหม่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองกุง ตำบล
นาคาย ตำบลคำหว้า แยกเขตปกครองเป็นกิ่งอำเภอตาลสุม และได้ตราพระราชกฤษฎีกาเป็นอำเภอตาลล
สุม เมื่อ 1 มกราคม 2531 มีพื้นที่ 303 ตารางกิโลเมตร
3.อำเภอสิรินธร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสที่ทรง
มีพระชันษาครบ 3 รอบ ในปีพุทธศักราช 2534
จังหวัดได้ขอให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง “อำเภอสิรินธร” เป็น
กรณีพิเศษ
ทางราชการได้แยกตำบลคันไร่ ตำบลช่องเม็ก ตำบลโนนก่อ ตำบลนิคมลำโดมน้อย ตำบลฝาง
คำ ของอำเภอพิบูลมังสาหาร และตำบลคำเขื่อนแก้ว ของอำเภอโขงเจียม โดยได้รับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
เป็นอำเภอสิรินธร เมื่อวันที่ 3 มกราคม พุทธศักราช 2535 มีพื้นที่ 698.51 ตารางกิโลเมตร








แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger