ตำนานเมืองพิบูลมังสาหาร


ตำนานเมืองพิบูลมังสาหาร

อำเภอพิบูลมังสาหาร เดิมชื่อ"บ้านกว้างลำชะโด" พระพรหมราชวงษา เจ้าเมืองอุบลราชธานี ขอตั้งเป็นเมืองพิบูล
มังสาหาร เจ้าพระยากำแหงสงครามเห็นชอบ จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชการที่ 4 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ตั้งเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12
ปีกุน พ.ศ.2406 และตั้งท้าวธรรมกิติยา (จูมมณี) เป็นพระยาบำรุงราษฎร์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อปี พ.ศ.2443
ลดฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ.2495 เปลี่ยนเมืองอุบลราชธานี เป็นจังหวัดอุบลราชธานี
 
อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 
- ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 45 กิโลเมตร
- ห่างจากกรุงเทพมหานคร 691 กิโลเมตร

อาณาเขต 
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอตาลสุม, อำเภอศรีเมืองใหม่
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอบุณฑริก, อำเภอเดชอุดม
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอโขงเจียม, อำเภอสิรินธร
ทิศตะวันตก ติดกับ กิ่งอำเภอนาเยีย, อำเภอสว่างวีระวงศ์



ย้อนตำนาน  เมืองพิบูลมังสาหาร
...ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2402 พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 นั้น มีภรรยา (หม่อม) อยู่มากถึง 7 คน และมีบุตรธิดารวมทั้งหมด
31 คน ในจำนวนนี้มีสี่พี่น้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและกล้าหาญ คือ ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) ท้าวโพธิสาราช (เสือ)ท้าวสีถาน
(สาง) ทั้งสามเป็นบุตรที่เกิดจาก หม่อมหมาแพง และท้าวขัตติยะ (ท้าวผู) น้องชายต่างมารดาของท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี)ซึ่งพอจะเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด
(อุปราช) ราชวงศ์ ราชบุตร ทำราชการให้แก่บ้านเมืองได้ จึงได้ปรึกษาคณะกรรมการเมืองและต่างเห็นพ้องต้องกัน พร้อมกันนี้ได้สั่งให้จัดเรือสามลำและคน
ชำนาญร่องน้ำเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยล่องเรือลงไปทางทิศตะวันออกตามลำแม่น้ำมูลจนถึงบ้านสะพือ (บ้านสะพือท่าค้อ-ในปัจจุบัน) จึงได้จอดเรือ
และข้ามไปสำรวจภูมิประเทศ ฝั่งขวาทางด้านทิศตะวันตกแก่งสะพือ เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งเมือง จึงได้ทำการบุกเบิกแผ้วถางป่าตั้งแต่บริเวณแก่งสะพือ
ไปจนถึงห้วยบุ่งโง้ง เพียงพอ ที่จะตั้งบ้านเรือนในระยะแรกได้ 30-80 ครอบครัว พร้อมตั้งชื่อว่า “บ้านกว้างลำชะโด” เนื่องจากว่าหมู่บ้านนี้อยู่กึ่งกลางระหว่าง
ห้วยกว้าง (ด้านทิศตะวันออก) และห้วยลำชะโด (ด้านทิศตะวันตก)

...ภายหลังการตั้งบ้านกว้างลำชะโด มีราษฎรเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนที่มีความเจริญหนาแน่นมากขึ้นพร้อมที่จะตั้งเป็นเมืองได้ในปี พ.ศ.
2406 จึงจัดสร้างศาลาว่าการขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล แล้วรายงานไปยังพระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานี เห็นด้วย พร้อมสั่งให้ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี)
ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) ท้าวคำพูล นำใบออกไปกราบเรียนเจ้าพระยากำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมา เพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชจักรีวงศ์ ขอตั้งบ้านกว้างลำ ชะโดเป็น “เมืองพิบูลมังษาหาร” ทั้งสามนายได้เชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นมาจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 2
ฉบับ ๆ หนึ่ง ถึงเจ้าพระยานครราชสีมา (เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ใจความว่ากรมการเมืองท้าว
เพี้ยนำตัวเลขมาสักหลังมือ ได้เลขเมืองอุบลราชธานีครั้งนี้ 20,000 เศษ เห็นว่าเขตแดนเมืองอุบลราชธานีกว้างขวาง บุตรและหลานพระพรหมราชวงศาก็มาก ก็จะ
เป็นเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร รับราชการฉลองพระเดชพระคุณขึ้นกับเมืองอุบลราชธานีได้อยู่ พระพรหมราชวงศาขอรับพระราชทานท้าวธรรมกิตติกา
(จูมมณี) เป็นเจ้าเมือง ท้าวโพธิสาราช (เสือ) เป็นอุปฮาด ท้าวสีถาน (สาง) เป็นราชวงศ์ ท้าวขัตติยะ (ผู) เป็นราชบุตร ขอตั้งบ้านกว้างลำชะโดเป็นเมืองหนึ่ง
จะแบ่งเลขเมืองอุบลราชธานีให้เมืองละ 2,000 เศษ มีความในใบบอกหลายประการนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทราบ
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท มีพระบรมราชโองการ ตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งการให้หัวเมืองลาวฝั่งตะวันออก โดยมอบหมายให้เจ้าพระยานครราชสีมา กับพระ
พรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีไปปรึกษาพร้อมกัน จะบอกส่วยเงินขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายนั้นชอบแล้ว ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม
สัญญาบัตร ประทับตราพระราชสัญจักรตั้ง ท้าวธรรมกิตติกาเป็นพระบำรุงราษฎร์ เจ้าเมือง ยกบ้านกว้างลำชะโดเป็น “เมืองพิบูลมังษาหาร” และอีกฉบับหนึ่งถึง พระ
พรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็น ท้องตราตั้งเมืองพิบูลมังษาหาร สารตรามา ณ วันอาทิตย์แรม 11 ค่ำ เดือนอ้าย จุลศักราช 1225 ปีกุน พุทธศักราช 2406
(6 ธันวาคม 2406)

...ก่อนที่ท้องตราตั้งเมืองและเจ้าเมืองจะเดินทางมาถึงเมืองอุบลราชธานีเพียงอาทิตย์เดียวนั้น พระพรหมราชวงศา (กุทอง) ก็ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ในวัน
อาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย จุลศักราช 1225 ปีกุน ครั้นจัดการพระราชทานเพลิงศพเสร็จแล้ว พระอุปฮาดโท ราชวงศ์โหง่นคำ ราชบุตรสุ้ย พร้อมด้วย ข้าหลวงที่
เจ้าพระยานครราชสีมาแต่งตั้ง ได้อัญเชิญท้องตราตั้งพระราชสีห์มาออกไปจัดตั้งเมืองพิบูล มังษาหาร มอบให้พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เป็น เจ้าเมือง และได้
พร้อมกันปักปันเขตแดนทั้งแบ่ง เลขส่วยให้ 2,000 เศษ โดยคณะอาชญาสี่เมือง พิบูลมังษาหารในคณะแรกประกอบด้วย พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เป็นเจ้าเมือง
ท้าวโพธิสาราช (เสือ) เป็นอุปฮาด ท้าวสีถาน (สาง) เป็นราชวงศ์ และ ท้าวขัตติยะ (ผู) เป็นราชบุตร คณะที่ 2 ประกอบด้วย พระบำรุงราษฎร์ (ผู) เป็นเจ้าเมือง
ท้าวลอด เป็นอุปฮาด ท้าวมินและท้าวสิงห์ เป็นราชวงศ์ ท้าวเขียว เป็นราชบุตร

....พิบูลมังษาหาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลายครั้ง อาทิ การลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นตรงกับจังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2455 พร้อมการเปลี่ยนชื่อ
ใหม่เป็น “พิบูลมังสาหาร” ซึ่งมีความหมายว่าเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ในวันที่ 1 มกราคม 2521ได้มีพระราชกฤษฎีกาแยกตำบลตาลสุม
ตำบลสำโรง และตำบลจิกเทิง และตั้งตำบลนาคาย ตำบลคำหว้าและตำบลหนองกุง ยกฐานะขึ้นเป็น “กิ่งอำเภอตาลสุม” ในวันที่ 3 มกราคม 2535 ได้มีพระราช
กฤษฎีกาแยกตำบลนิคมลำโดมน้อย ตำบลคันไร่ ตำบลฝางคำ ตำบลช่องเม็ก ตำบลโนนก่อ และตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอโขงเจียม ยกฐานะขึ้นเป็น “อำเภอ
สิรินธร” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสพระ ชนมพรรษาครบ 3 รอบ (36 พรรษา)

อร่าม สมสวย

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger