Home » , , , » ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ บุญบั้งไฟ บุญเดือนหก

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ บุญบั้งไฟ บุญเดือนหก

Written By SongStoryz on วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 | 02:48



บุญบั้งไฟเป็นที่นิยมทำกันเดือน 6 การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง และบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนด้วยเป็นประเพณีทำบุญขอฝน ที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ เชื่อว่า ฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชน จะอยู่เย็นเป็นสุข มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ทั้งปราศจากโรคภัย

การนำเอาดินประสิว (คนอีสานเรียกว่าขี้เจีย) มาโขกหรือบดผสมกับถ่านให้แหลกละเอียด (คนอีสานเรียกว่าหมื่อ) แล้วบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญให้ทานและมีความเกี่ยวข้องกับบั้งไฟ เรียกว่า "บุญบั้งไฟ" อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า "บุญเดือนหก" เพราะมีกำหนดทำกันในเดือนหก

จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ
เพื่อเป็นการสักการะบูชาพระยาแถน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฝน ถ้าได้จุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเทพเจ้าองค์นี้แล้วจะบันดาลให้ฝนตกลงมา ตามฤดูกาลและมีปริมาณเพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ ธัญญาหาร

การเอาบุญบั้งไฟในเดือนหกนั้น เกิดจากความเชื่อที่ว่า พระยาคันคากได้ทำสัญญาสงบศึกกับพระยาแถน หลังจากที่ต่อสู้กันแล้ว พระยาแถนเกิดพ่ายแพ้และยอมเป็นเมืองส่วย (เมืองขึ้น) จะมอบบรรณาการด้วยการแต่งฝนฟ้าให้ทุกปี ซึ่งพอเมื่อถึงเดือนหก คนในเมืองมนุษย์ก็จะจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนพระยาแถน เพื่อให้รู้ว่าถึงฤดูทำนาแล้วและให้พระยาแถนแต่งฝนให้

นอกจากนี้ บางท้องถิ่นถือว่าการจุดบั้งไฟเป็นการเสี่ยงทายว่าฟ้าฝนปีนี้จะเป็นอย่างไร โดยการสังเกตจากบั้งไฟที่จุด หากว่าบั้งไฟขึ้นดีไม่มีเหตุขัดข้องก็ถือว่าฟ้าฝนในปีนี้ ดีแต่ทว่าบั้งไฟไม่ขึ้นหรือมีอุปสรรคถือว่าฟ้าฝนในปีนั้นไม่ค่อยจะดี และมักจะมีการหามเอาช่างที่ทำบั้งไฟที่ไม่ขึ้นโยนลงบ่อโคลน เป็นการลงโทษและเป็นที่สนุกสนาน เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อในเรื่องนี้ ชาวอีสานได้ปฏิบัติเป็นประเพณีมาจนถึงปัจจุบันนี้



ชาวบ้านจะประชุมตกลงกันกำหนดวันนัดหมายวันที่จะทำบุญบั้งไฟ
ผู้ที่เป็นช่างจะจัดหาไม้ไผ่มาทำบั้งไฟ เอาถ่านคั่วขี้เจีย (ดิน)ประสมตำ
เป็นหมื่อ การทำบั้งไฟมาแข่งขันกัน แบ่งออกตามขนาดที่กำหนด เช่น
บั้งไฟฟมื่น จะมีหน้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสน จะมีน้ำหนัก
ประมาณ 120 กิโลกรัม บั้งไฟพลุ (มีต้นตำรับแบบลูกระเบิด) เมื่อถึงวัน
รวม ชาวบ้าน ญาติโยมจะทำบุญเลี้ยงพระเพล และตอนประมาณบ่าย 3
โมงเย็น ทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกๆ คนนำบั้งไฟมารวม
กันที่วัดแล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใด จุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น
ขบวนแห่ แล้วก็นำรถที่บรรทุกใส่บั้งไฟเป็นขบวนแห่ให้ประชาชนดูรอบๆ
แล้วนำไปไว้ที่วัดในการแข่งขันบั้งไฟจะมีคนมาร่วมขบวนแห่จำนวนมาก


คำเซิ้งบั้งไฟยกตัวอย่างมาให้ดูดังนี้

" โอเฮาโอ พวกฟ้อนเฮาโอ บั้งไฟหมื่นของพญาแถน
ขึ้นไปเทิงเมืองแมนเถิงที่ชั้นฟ้าสุดแหล่งหล้าเหลียวบ่มีเห็น
ข้ามตาเวนอุดรเป็นเขต ข้ามประเทศเมืองใหญ่หนองหาน
ข้ามภูพานไปแล้วคุณพ่อ ขึ้นก่อด่อสามมื้อบ่ลง
ตำข้าวถงไปนำเอาโลด ช่างแม่นขึ้นโพดเอาโลดเอาเหลือ
จนมีเสือหมูหมาช้างย้าน จนว่าฮ้านซิโปดซิเพ
คักแท้เดบั้งไฟบักส่า ขึ้นจนว่าฝ้าแตกเป็นฝอย
แหงนตาลอยจนว่าตาค้าง พออยากจ้างไผส่องนำเห็นบั้งไฟ "



การแห่บั้งไฟออกนอกวัดไปแสดงคารวะมเหศักดิ์หลักเมืองและผีปู่ตาหรือผีเจ้าบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองหรือหมู่บ้าน แล้วแห่ไปตามละแวกบ้าน การแห่บั้งไฟจะมีการเซิ้งและฟ้อนรำพร้อมดนตรีพื้นเมืองชนิดต่าง ๆ เช่น กลอง ฆ้อง แคน พิณฯลฯ สำหรับขบวนเซิ้งและคำเซิ้งในประเพณีบุญบั้งไฟ อาจแบ่งออกได้เป็นสามพวก คือ พวกที่มีความรู้และเป็นสำคัญ คำเซิ้งจึงไม่พิถีพิถันนักอาจเป็นคำขอและอื่น ๆ ก็ไพเราะ

อีกพวกหนึ่งมักคือพวกที่มีความรู้และคุณธรรมคำขอเหล้ากินบ้าน และขบวนแห่ก็มักจะจัดตามชอบส่วนอีกพวกหนึ่งมักค่อนข้างไปในทางตลกโปกฮา และบางทีคำพูดและกิริยาท่าทางที่แสดงอาจหยาบคาย คือ คำเซิ้ง บางที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศและคำหยาบปะปนอยู่บ้าง นอกนี้ในขบวนแห่บางทีนำวัตถุบางอย่าง เช่น ไม้ เป็นต้น มาทำรูปอวัยวะเพศของชายหญิงมาประดับตามร่างกาย หรือถือแห่ร่วมขบวนไปด้วย และบางทีทำรูปชายหญิงร่วมเมกุนกับบนบั้งไฟขณะที่หามไปก็มี นอกนี้บางคนก็อาจมีการแสดง
ท่าทางหยาบโลนบ้าง แต่การทำเช่นนี้ ส่วนใหญ่ไม่มีใครถือสาหาความ ถือเป็นเรื่องขบขันแลสนุกสนานมากกว่า เพราะเคยทำมานานคล้ายเป็นประเพณี


การเตรียมงานบุญบั้งไฟ
การเริ่มการเตรียมงานจะเริ่มจากชาวบ้านภายในคุ้ม แบ่งงานกันว่า ใครจะทำ
อะไรนับตั้งแต่การจัดทำบั้งไฟ การฝึกหัดการฟ้อนรำประกอบขบวนแห่บั้งไฟ การ
ปลูกปะรำที่พักอาศัยเผื่อแขกที่เชิญมาจากหมู่บ้านอื่น การเตรียมอาหารไว้ทำบุญ
หรือเลี้ยงแขกในงาน นอกจากนี้พ่อแม่มีลูกสาวกก็จะเตรียมตัดชุดลำเซิ้งและชุด
สายที่สุดไว้ให้ ลูกสาวใส่ในวันงาน อุปัชฌาย์ก็จะเตรียมซ้อมนาคเพื่อบวชในงาน
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ครึกครื้นมาก สถานที่จัดงานสมัยก่อนจะใช้วัดเป็นศูนย์กลางรวบ
รวมราษฎรมาช่วยกันทำบั้งไฟ บั้งไฟแต่ละบั้งจะใช้เวลาทำประมาณสองถึงสามเดือน
จึงจะแล้วเสร็จ เพราะมีพิธีกรรมมากมายเริ่มด้วยการหาฤกษ์ยามในการบรรจุบั้งไฟจะ
เลือกเอาหญิงสาวพรหมจารีย์มาตอกบั้งไฟเป็นคนแรก เพราะมีความเชื่อกันว่าจะทำ
ให้บั้งไฟสูงขึ้น

ประเภทของบั้งไฟ

บั้งไฟโหวด
บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น ประมาณ ๔-๑๐
นิ้วบรรจุหมื่อหนักประมาณ ๑ ส่วน ๘ ถึง ๑ ส่วน ๒ กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ
๑-๔ เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟ
ใหญ่ ( บั้งไฟหมื่น , บั้งไฟแสน ) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง

บั้งไฟม้า
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ ๑ ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๑ ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า “ ลูกหนู ” คล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง

บั้งไฟช้าง
บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไป แต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียว ให้มีข้อปิดทั้ง ๒ ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน ๓-๔ อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม ให้ได้แท่งประมาณ ๓ นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่ เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือน
เสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วงๆ กระบอก ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้นๆ

บั้งไฟจินาย
บั้งไฟจินายเป็นบั้งไฟขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๑-๔ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ ๑-๒ นิ้ว มีหางยาวประมาณ ๑ ศอก เจาะรูที่ใช้จุดชนวนด้านล่าง ไม่ต้องทะลุขึ้นด้านบน เป็นบั้งไฟที่ใช้จุดเพื่อความสวยงามใช้จุดตามประเพณีต่างๆ บางครั้งใช้เมล็ดส้มโฮง (สำโรง) โดยเจาะเอาเนื้อในออกแล้วอัดหมื่อเข้าไปแทนปิดด้านบน แล้วเจาะรูชนวนด้านล่างเล็กๆ ใช้ก้านใบมะพร้าวมัดติดเป็นหาง เรียกจินายน้อย

บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟธรรมดา ที่บรรจุหมื่อ (ดินปืน) น้อยกว่า ๑๒ กิโลกรัม เป็นบั้งไฟขนาดเล็กใช้จุดเสี่ยงทายในพิธีการขอฝน บุญเบิกบ้าน หรือ จุดถวายแถน เป็นต้น

บั้งไฟหมื่น
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดกลาง บรรจุดินปืนหนักระหว่าง ๑๒-๑๑๙ กิโลกรัม ขนาดกระบอกกว้าง ๓,๕ นิ้ว ยาวประมาณ๑๔๐ เซนติเมตร ไม่เกิน ๑๘๐ กิโลเมตร ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่กระบอกเล็ก (เหลาเล็ก) กระบอกพลาสติก (เหลาเอสลอน) การจุดบั้งไฟแข่งขันส่วนมากเป็นบั้งไฟหมื่น

บั้งไฟแสน
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก ๑๒๐ กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอัตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ

บั้งไฟตะไล
บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ ๙-๑๒ นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง

บั้งไฟตื้อ
บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง ยาวประมาณ ๓ นิ้วอัดหมื่อให้แน่นประมาณ ๒ นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็กๆ แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกัน

บั้งไฟพลุ
บั้งไฟพลุ เป็นบั้งไฟที่นิยมจุดในเทศกาลต่างๆ เช่น งานกฐิน งานบุญมหาชาติ หรือ งานเปิดกีฬา ฯลฯ เป็นบั้งไฟที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง ในอดีตนิยมจุดในงานกฐิน เพื่อเป็นการบอกข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ



ช่างบั้งไฟจะถูกลงโคลนตม

หลังจากทำการเสี่ยงทายแล้ว ก็จะทำการจุดบั้งไฟเสี่ยง หลังจากนั้นก็จะจุดบั้งไฟที่นำมาแข่งขันบั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน การจุดชนวนใช้เวลาไม่กี่นาทีบั้งไฟจะพุ่งไปในอากาศ การขึ้นของบั้งไฟจะมีเสียงดังวี๊ดคล้ายคนเป่านกหวีดหรือเป่ากระบอก ส่วนบั้งไฟแข่งขันจะจุดหลังบั้งไฟเสี่ยงทาย การจุดบั้งไฟแข่งขัน ถ้าบั้งไฟของคณะใดขึ้นสูงก็เป็นผู้ชนะ ถ้าขึ้นสูงมากก็จะโห่ร้องยินดีกระโดดโลดเต้นกันอย่างเต็มที่ และจะแบกช่างบั้งไฟเดินไปมา แต่ถ้าบั้งไฟคณะไหนไม่ขึ้นหรือแตกเสียก่อน ช่างบั้งไฟจะถูกลง
โคลนตม ปัจจุบันได้นำธรรมเนียมนี้มาเล่ากันอย่างสนุกสนาน โดยไม่จับเฉพาะช่างเท่านั้น แต่จะไล่จับผู้ที่สนิทคุ้นเคยไปโยนลงโคลนตม ไม่ว่าบั้งไฟจะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็ตามจับโยนทั้งนั้น ช่างทำบั้งไฟเป็นคนจุดเอง หรือบางทีคนในคณะบั้งไฟของตนที่มีความชำนาญจะเป็นคนจุด กรรมการคอยจับเวลาว่าใครขึ้นสูงกว่ากัน การจุดบั้งไฟนี้น่ากลัวมาก บางบั้งแตกบางบั้งก็ขึ้นสูง ในวันจุดบั้งไฟนี้ประชาชนพากันมาดูอย่างคับคั่ง นั่งอยู่ตามร่มไม้เป็นกลุ่มๆ และพนันกันว่าบั้งไฟใครจะชนะ ขึ้นสูงหรือไม่ ตกหรือไม่ เป็นต้น




การจุดบั้งไฟ

ในวันจุดบั้งไฟ เวลาเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ จะตักบาตรถวาบยภัตตาหารเลี้ยงดูญาติโยม แล้วแห่บั้งไฟ
รอบอุโบสถ เพื่อถวายแก่เทพาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วนำบั้งไฟออกไปที่จัดไว้สำหรับจุดบั้งไฟ การจุดบั้งไฟจะจัดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน เพื่อเป็นการเสี่ยงทายว่า พืชผลการเกษตรประจำปีจะดีเลวหรือไม่ กล่าวทายคือ บั้งไฟที่เสี่ยงทายจุดไม่ขึ้น (ชุติดค้าง) ก็ทายว่าน้ำประจำปีจะมากและทำให้พืชไร่ในที่ลุ่มเสียหาย ถ้าจุดแล้วขึ้นระเบิดกลางอากาศ ทายว่าแผ่นดินจะเกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้า บั้งไฟสวยงามและสูง ชาวบ้านจะเปล่งเสียงไชโยตลอดทั่วบริเวณงาน เพราะมีความเชื่อว่า ข้าวกล้าและพืชไร่ในท้องทุ่งนาจะให้ผลบริบูรณ์





ขอบคุณ ข้อมูล และ รูปภาพจาก
 
Share this article :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger