ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้ง  ขนาด และอาณาเขต
อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นอำเภอที่ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุบลราชธานี  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีพื้นที่ 720.73 ตารางกิโลเมตร   หรือ 450,456.25 ไร่ มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 7 ของจังหวัด 
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตามทางหลวงหมายเลข 217  ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 45
กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติด     อำเภอศรีเมืองใหม่ 
ทิศตะวันออก   ติด      อำเภอสิรินธร  และอำเภอโขงเจียม
ทิศใต้               ติด     อำเภอบุณฑริกและอำเภอเดชอุดม
ทิศตะวันตก      ติด     อำเภอสว่างวีระวงศ์และกิ่งอำเภอนาเยีย
ลักษณะภูมิประเทศ  สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและราบลุ่มสลับกัน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จัดอยู่
ในลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น บริเวณที่ตั้งอำเภอเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล    โดยเฉพาะพื้นที่
ทางทิศเหนือและทางทิศใต้จะมีลักษณะเป็นที่ราบสูงและเป็นลูกคลื่นลาดเอียงลงสู่แม่น้ำมูล

แหล่งน้ำและลำน้ำสายสำคัญ

แหล่งน้ำที่สำคัญ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ให้ประโยชน์แก่ท้องถิ่น ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำลำโดมใหญ่ 
แม่น้ำห้วยกว้าง  อ่างเก็บน้ำลำโดมน้อย
แม่น้ำมูล
       ต้นน้ำจากเทือกเขาเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านจังหวัดอีสานตอนใต้แนวตะวันตก สู่ตะวัน
ออก  ถือได้ว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญของอำเภอพิบูลมังสาหารไหลผ่านตำบลโพธิ์ไทร  ตำบลโพธิ์ศรี
ตำบลพิบูล  ตำบลกุดชมภู  ตำบลทรายมูล  ไหลผ่านอำเภอสิรินธร  และไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอ
โขงเจียม
แม่น้ำลำโดมใหญ่
      ต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาดงรักเขตท้องที่อำเภอน้ำยืน  ไหลผ่านอำเภอเดชอุดม  เข้าสู่อำเภอพิบูล
มังสาหาร  โดยไหล่ผ่านตำบลนาโพธิ์  ตำบลไร่ใต้  ตำบลโพธิ์ไทร  เป็นลำน้ำแบ่งเขตปกครองของ
อำเภอพิบูลมังสาหารกับกิ่งอำเภอนาเยียและกิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์  ไหลลงแม่น้ำมูลที่บ้านปากโดม
ตำบลโพธิ์ไทร
อ่างเก็บน้ำลำโดมน้อย
      แหล่งน้ำที่เกิดจากการสร้างเขื่อนสิรินธรโดยกั้นลำน้ำลำโดมน้อย  ซึ่งมีต้นน้ำที่เทือกเขาดงรักเขต
ท้องที่อำเภอบุณฑริก  ไหลลงแม่น้ำที่หน้าเขื่อนปากมูลเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  สามารถจุน้ำได้
1,966 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 36 เมกกะวัตต์  บริการน้ำชลประทานแก่เกษตรกร
ได้ประมาณ 162,151 ไร่  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อประชาชนในท้องถิ่นเป็น
อย่างยิ่ง
ห้วยกว้าง
      ต้นน้ำเกิดจากที่ราบสูงท้องที่อำเภอเดชอุดม ไหลผ่านตำบลหนองบัวฮี ตำบลดอนจิก ตำบลกุดชมภู
ไหลลงแม่น้ำมูลที่บ้านหนองเป็น  ตำบลคันไร่  อำเภอสิรินธรเป็นแม่น้ำที่ค่อนข้างสั้นแต่ก็ให้ประโยชน์
แก่พื้นที่ที่ไหลผ่าน  นอกจากนี้ห้วยกว้างยังเป็นลำน้ำแห่งที่มาของการตั้งเมืองพิบูลมังสาหารในอดีตอีกด้วย

ลักษณะภูมิอากาศอำเภอพิบูลมังสาหาร

ภูมิอากาศ  หมายถึง  สภาพอากาศโดยเฉลี่ยตามที่ปรากฏอยู่ในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นระยะเวลานานเป็นปี ๆ
และมีการจดบันทึกเอาไว้  ลักษณะภูมิอากาศ เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น  มี 3 ฤดู  นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพล
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุดีเปรสชั่น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของอำเภอพิบูลมังสาหาร

ลักษณะที่ตั้ง
       พื้นที่ของอำเภอพิบูลมังสาหารตั้งอยู่ในเขตละติจูดต่ำหรือร้อนซีกโลกเหนือ (ละติจูด 15 องศาเหนือ) ทำให้
ลักษณะเป็นแบบร้อน  ฤดูหนาวอากาศเย็น  
   
ระยะห่างจากทะเล
       พิบูล มังสาหารเป็นอำเภอที่อยู่ตะวันออกสุดของจังหวัดอีสานตอนใต้จึงเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากทะเลอ่าว
ไทย ประมาณ 650 กิโลเมตร  จึงทำให้ได้รับอิทธิพลความชุ่มชื้นจากทะเลน้อย  ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้ง  
   
ลมประจำฤดู 
       ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เกิดจากความกดอากาศสูงในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก  พัดเข้าสู่
หย่อมกดอากาศต่ำตอนกลางทวีปเอเชีย  จึงพัดพาเอาความชุ่มชื้นมาให้  แต่อำเภอพิบูลมังสาหารอยู่ค่อนข้างไกล
ทะเลมากจึงทำให้ได้รับอิทธิพลลมนี้ปานกลาง  
       ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  เกิดจากหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและธิเบตพัดเข้าสู่ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จึงทำให้บริเวณอำเภอพิบูลมังสาหารและจังหวัดอุบลราชธานีได้รับอากาศเย็น  
       พายุดีเปรสชั่น  พายุนี้มีต้นกำเนิดในทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ประเทศเวียตนาม
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อถึงอำเภอพิบูลมังสาหารความเร็วของลม
จะลดลงทำให้มีฝนตกบริเวณกว้าง

ฤดูกาล

         อำเภอพิบูลมังสาหารเป็นบริเวณพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพบของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  จึงทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิของแต่ละช่วงในรอบปี  จึงสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดูคือ
 
ฤดูฝน   
     เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม  เป็นช่วงระยะเวลาที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และบางครั้งจะเกิดพายุดีเปรสชั่นร่วมด้วย  ทำให้เกิดมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและปริมาณน้ำฝนมากกว่าทุกฤดู
ฤดูหนาว
     เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์  เป็นช่วงระยะเวลาที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ทำให้มีอากาศหนาวเย็นเป็นช่วง ๆ สลับกับอากาศแห้ง
ฤดูร้อน
     เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม  เป็นช่วงเวลาที่ได้รับแสงอาทิตย์กล้าที่สุดทำให้มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง  ในระยะนี้จะมีพายุร้อนเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศจีนเคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว  เมื่อปะทะกับอากาศร้อนในท้องถิ่นจึงทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองและมีฝนตกแต่ปริมาณน้ำฝนไม่มากนัก

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger