Home » , , , » ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เดือนสาม-บุญข้าวจี่

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เดือนสาม-บุญข้าวจี่

Written By SongStoryz on วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 | 02:17


บุญข้าวจี่ซึ่งมักจะเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจัดเตรียมข้าวจี่ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารวมกันที่ศาลาโรงธรรมญาติโยมจะมาพร้อมกันแล้วอาราธนาศีล ว่าคำถวายข้าวจี่เส็จแล้วเอาข้าวจี่ไปใส่บาตร พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้วญาติโยมยกอาหารคาวหวานไปถวายพระฉันเสร็จแล้วอนุมโทนาเป็นการเสร็จพิธีถวายข้าวจี่ ในปัจจุบันชาวบ้านนอกจากจะทำบุญข้าวจี่แล้วยังทำบุญมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง วันมาฆบูลานี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสามเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพระทูทธศาสนา 4 ประการคือ
1. เป็นวันเพ็ญเดือนสาม ดวงจันทร์เสยวมาฆฤกษ์
2. พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันที่เวฬุวันมหาวิหารโดยมิได้นัดหมายกันล่วงหน้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมครั้งนี้นล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา (ภิกษุที่พระพุทธเจ้าบวชให้)
4. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์


คำถวายข้าวจี่

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสัมฺพุทฺธสฺส ( 3 หน)
สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อฎฐํ คจฉนฺติ อาสวาติ ฯ



บุญข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆเมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร



“ข้าวจี่” คือข้าวเหนียวนึ่งแล้วปั้นให้ติดกันสนิทเป็นก้อนขนาดต่างๆ นำไปปิ้งไฟ ข้างนอกทาด้วยไข่และน้ำมันหมู ข้างในมีน้ำอ้อยก้อนถือเป็นข้าวจี่ที่ดีที่สุด วิธีการทำ ปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนโดยใส่น้ำอ้อยก้อนไว้ข้างในแล้วนำไปปิ้ง พอเกรียม เอาออกมาชุบทาด้วยไข่ที่ตีแล้ว นำไปปิ้งไฟอีกครั้งพอไข่สุกนำออกมาทาด้วยน้ำมันหมูแล้วไปปิ้งไฟอีกครั้ง ข้าวจี่จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน

ข้าวจี่ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของคนอีสาน อาจจะถือกำเนิดขึ้นโดยการที่ขณะที่นั่งฝิงไฟในหน้าหนาว และเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จใหม่ๆ โดยธรรมชาติของข้าวใหม่ก็มีกลิ่นหอมอยู่แล้ว




มูลเหตุ

ในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหาร ที่ดีหรือประณึตอะไรคงจะโยนให้หมู่กา และสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของ นางและเข้าใจในเรื่องที่นางปุณณทาสีคิดจึงได้สั่งให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลง แล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟังจนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยความเชื่อแบบนี้ คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาด ดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า"

นอกจากนี้แล้วได้มีการเพิ่มการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเข้ามาในเดือนนี้ นั้นก็คือบุญมาฆะบูชา เพราะว่าวันมาฆะบูชานั้นเป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางพระอรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ณ วฬุวันมหาวิหาร ในเวลาตะวันบ่ายคล้อย ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสามหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า"มาฆมาส" สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์หรือหลักการของพุทธศาสนาที่สำคัญที่พระพุทธ
องค์ได้ทรงแสดงไว้นั้นมี ๓ ข้อ ดังนี้
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. การทำความดีให้ถึงพร้อม
๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิผ่องแผ้ว
การทำบุญในวันมาฆะบูชานี้ เพื่อเป็นการบูชาให้ถูกต้องตามหลักการของคำว่า "มาฆะบูชา"ที่แปลว่า การบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสามนอกเหนือจากการบูชาตาม ปกติของวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยการสมทานศีล ฟังธรรมถวายทาน และเวียนเทียนแล้ว ควรจะมีการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ดังที่ได้กล่าวแล้วด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นยอดแห่งการบูชาทั้งปวง..





วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือ ประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม

วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น "วันจาตุรงคสันนิบาต"แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุท ธกาล คือ

๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวัน-มหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาอันเป็นหัว ใจของพระพุทธศาสนาคือ โอวาทปาฏิโมกข์ โอวาทปาฏิโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพุทธศานาคือ เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงกระทำวิสุทธิปาฎิโมกข์ ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางพระอรหันต์ 1250 องค์นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะในวันเพ็ญเดือน 6 ต่อจากนั้นพระองค์ได้เสด็จเทศนาสั่งสอนผู้ควรสั่งสอนเป็นลำดับมา ครั้งแรกทรงเทศนาโปรดเบญจะวคีย์ทั้ง 5 ให้มีความเชื่อความเลื่อมใสแล้วขอบวชแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ต่อมาเมื่อมีพระอรหันตสาวกเกิดขึ้นในโลกรวม 60องค์ พระองค์ก็ส่งไปประกาศพระศาสนา ส่วนพระองค์ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม มุ่งจะแสดงธรรมแก่ชฏิล 1,003 คน
และชฏิลเหล่านั้นยอมรับนับถือ บวชเป็นภิกษุ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด แล้วเสด็จเข้าสู่พระนครราชคฤห์พร้อมด้วยพระอรหันต์อดีตชฏิล

พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ จึงพร้อมด้วยราชบริวารออกไปเฝ้า ณ พระราชเวฬุวัน ทรงสดับพระธรรมเทศนา มีพระทัยเลื่อมใส ทรงถวายพระราชเวฬุวันเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนาพร้อมด้วยพระสงฆ์ พระเวฬุวันนี้เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนาเรียกว่า เวฬุวันมหาวิหาร หรือวัดเวฬุวันในสมัยที่ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันนั้น มีนักบวชอีกพวกหนึ่งที่เรียกว่าปริพาชก จำนวน250 คน มีหัวหน้าอุปติสสะ และโกลิตะเข้าไปเฝ้ามีความเลื่อมใส บวชเป็นภิกษุและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

วันที่พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ตรงกับวันมาฆบุรณมี คือเดือน 3 กลางเดือน วันเพ็ญเดือน 3 นี้ตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ถือว่าเป็นวันสำคัญ เป็นวันลอยบาปคือวันศิวราตรี วันแห่งพระศิวะหรือพระอิศวร เมื่อถึงวันนั้น เวลากลางคืนพากันลงอาบน้ำดำเกล้าสะสนานให้ตนบริสุทธิ์สะอาดด้วยประการทั้งปวง ถือว่าได้ลอยปาปไปตามกระแสน้ำแล้วหมดบาปไปคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่ เป็นการกระทำประจำปี

พระอรหันต์ 1000 รูป อดีตชฏิล และพระอรหันต์อีก 250 รูปอดีตปริพาชก ยังอยู่ในสำนักของพระองค์ ณ พระเวฬุวันมหาวิหารนั้น ต่างปรารภร่วมกันว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์คือเป็นวันลอยปาป พระบรมศาสดาของเราควรจะทำอย่างไรบ้าง จึงพร้อมกันไปเฝ้าพระบรมศาสดาในที่เฉพาะพระพักตร์ โดยที่พระองค์มิได้รับสั่งให้เข้าเฝ้า พระองค์ทรงถือเอาเหตุนั้น จึงทรงกระทำปาริสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฎิโมกข์ในท่ามกลางพระอรหันต์ 1250 รูป เรียกวันมหาสันนิบาตประชุมใหญ่นั้นว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมประกอบด้วยองค์ 4 คือ

1. พระสงฆ์ 1250 รูปนั้น ล้วนบวชเฉพาะจากพระองค์ ที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
2. พระสงฆ์ 1250 รูปนั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
3. พระอรหันต์ 1250 รูปมาเฝ้าพระองค์ โดยพระองค์มิได้รับสั่งให้เฝ้า
4. วันนั้นเป็นวันมาฆบุรณมี คือเดือน 3 กลางเดือน

พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งจัดว่าเป็นวันประดิษฐานพระพุทธศาสนา คือวางหลักแห่งการปฏิบัติ วางหลักแห่งการประกาศพระศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์นั้นไม่ใช่ภิกขุปาฏิโมกข์ ดังที่ภิกษุสวดกันทุกวันนี้ โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นโอวาทคำสั่งสอนที่วางหลักแห่งความประพฤติเป็นส่วนธรรมะ มิใช่วินัย

ในวันมาฆบูชานี้ ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้าสมาทานศีล ฟังพระธรรมเทศนา และตอนกลางคืนจะมีการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียนที่วัด




ขอบคุณ ข้อมูล และ รูปภาพจาก
 
Share this article :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger