Home » , , , » ประเพณี แห่เทียนเข้าพรรษา อ.พิบูลมังสาหาร

ประเพณี แห่เทียนเข้าพรรษา อ.พิบูลมังสาหาร

Written By SongStoryz on วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 | 01:26

วันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"

ถึงเดือนแปดแดดอับพยับฝน ฤดูดลพระวษาเข้ามาขวาง
จวนจะบวชเป็นพระสละนาง อยู่เหินห่างเห็นกันเมื่อวันบุญ
ประดับพุ่มบุปผาพฤกษากระถาง รูปแรดช้างโคควายขายกันวุ่น
ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์งามละมุน ต้นพิกุลลิ้นจี่ดูดีจริง
ต้นไม้ทองเสาธงหงส์ขี้ผึ้ง คู่ละสลึงเขาขายพวกชายหญิง
อุณรุหยุดกินนรชะอ้อนพริ้ง มีทุกสิ่งซื้อมาบูชาพระ
เมื่อถึงวันนี้ ชาวพุทธทั้งหลายจะพากันไปใส่บาตร รับศีล ตอนกลางคืนมีการถวายเทียนเข้าพรรษา ก่อนจะถึงวันหรือเวลาถวายเทียน มักจะมีการแห่เทียนพรรษาไปตามหมู่บ้านต่างๆ เป็นที่สนุกสนาน มักจะมีทานขันข้าวหาคนตาย รวมทั้งการทานแด่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปทำบุญที่กันทุกวันพระ มีการฟังเทศน์ ฟังธรรม คนเฒ่าคนแก่จะมีการไปนอนวัดจำศีล สำหรับคนทั่วไปบางคนก็ตั้งใจใน การงดเว้นบาปและถือศีล เช่น รักษาอุโบสถศีลตลอดพรรษา งดเว้นดื่มสุรา งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดพรรษา เป็นต้น

วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น ๒ ระยะ คือ ปุริมพรรษา และ ปัจฉิมพรรษา
๑. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี หรือ ราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

๒. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง หรือราวเดือน กรกฎาคม และจะออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด ๓ เดือน ตามพระวินัยบัญญัติโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น เรียกกันโดนทั่วไปว่า “จำพรรษา”

ประวัติความเป็นมาของ...วันเข้าพรรษา
เดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดู  ร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตรไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่น ๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้

 การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่าง ๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ตาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้พระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ประจำที่ตลอดระยะเวลา ๓ เดือนแห่งฤดูฝน

ภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาสหรือที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนดคือก่อนรุ่งสว่าง ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา แต่หากมีกรณีจำเป็น ๔ ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน คือ

๑. ไปรักษาพยาบาลพระภิกษุ หรือ บิดามารดาที่เจ็บป่วย
๒. ไประงับไม่ให้พระภิกษุสึก
๓. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น ไปหาอุปกรณ์มาซ่อมแซมวัดซึ่งชำรุดในพรรษานั้น
๔. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

ประโยชน์...ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุสงฆ์

๑. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆอาจไปเหยียบต้นกล้าหรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
๒. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา ๘-๙ เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
๓. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน เมื่อถึงวันออกพรรษา
๔. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
๕. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
พิธีหล่อเทียนพรรษา
พิธีหล่อเทียนเข้าพรรษา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างในปัจจุบัน เวลาพระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์ท่องจำตำรับตำรา ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และ เทียนไข ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย โดยการเรี่ยไรขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธา เมื่อมีมากพอแล้วจึงทำการหล่อที่วัดหรือสถานที่จัดงาน ทำการตกแต่งประดับประดาและแกะสลักลวดลายสวยงาม มีการประกวดประชันความสวยงามกันเป็นที่ครื้นเครง

ก่อนถึงวันเข้าพรรษา ๑ วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพสมโภชนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งพิธีการเหล่านี้สุดแล้วแต่จะเห็นสมควรพอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษาจึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายพระตามวัดต่างๆ

อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่ส่องสว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจวัตรของสงฆ์

ประเพณี แห่เทียนเข้าพรรษา อ.พิบูลมังสาหาร
























ขอบคุณ ข้อมูล และ รูปภาพจาก
 
Share this article :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger