Home » , » สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ปธ ๕)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ปธ ๕)

Written By SongStoryz on วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 | 13:02

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ปธ 5)
(พ.ศ. 2410 – 2499)

ชาติภูมิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ ฉายา ติสฺโส นามเดิม อ้วน นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2510 เวลา 05.00 น. ณ บ้านแคน ตาบลดอนมดแดง อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านแคน อาเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี) โยมบิดาชื่อ เพี้ย เมืองกลาง ตาแหน่งกรรมการเมืองอุบลราชธานี โยมมารดาชื่อ บุดสี (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ, 2499 : 2)
บรรพชาและอุปสมบท
บรรพชา เป็นสามเณรสังกัดมหานิกาย เมื่อ พ.ศ.2429 ขณะที่อายุได้ 19 ปี ที่วัดสว่าง ตาบลสว่าง อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วแปลงเป็นยุติกนิกายที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน) อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
อุปสมบท เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2430 ณ พัทธสีมา วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน) อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านโชติปาโล (ชา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ, 2499 : 2)
การศึกษาเล่าเรียน
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้ศึกษาเล่าเรียน หลังจากอุปสมบทแล้ว ก็ได้เล่าเรียนอักษรสมัย และพระปริยัติธรรมที่สานักเรียนวัดศรีทอง อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ.2433 ได้ย้ายสานักเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ โดยศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสานักพระศาสนโสภณ (อ่อน อหิงสโก) สอบได้เปรียญตรีใน พ.ศ.2439 และสอบได้เปรียญโท ใน พ.ศ.2440 หลังจากนั้นก็ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนสอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค

ตำแหน่งและสมณศักดิ์
1. ภัณฑารักษ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าอาวาส
2. ครูฝ่ายภาษาบาลี ที่วัดสุปัฎนาราม เป็นครั้งแรกที่มีโรงเรียนเปิดสอนตามแบบมหามกุฎราชวิทยาลัย ในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ จึงมีพระภิกษุสามเณรทั้งใกล้ - ไกล ตลอดมณฑลอุดรก็อุตส่าห์มาเล่าเรียน
3. พ.ศ. 2442 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน
4. พ.ศ. 2447 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมาต้นรัชกาลที่ 6 ได้แยกมณฑลอีสาน
เป็น 2 มณฑล คือมณฑล อุบล และมณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่า การทั้ง-
สองมณฑล
5. พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง
6. ต้นรัชกาลที่ 7 ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ดและนครราชสีมา เป็นมณฑลนคร-
ราชสีมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
7. พ.ศ. 2485 ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรก แห่งประเทศไทย ตามประกาศตั้งสังฆนายก
ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2485

สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. 2447 พระราชาคณะที่ พระศาสนดิลก
พ.ศ. 2454 ทรงให้มีสมณศักดิ์เสมอชั้นราชในนามเดิม
พ.ศ. 2455 พระราชมุนี
พ.ศ. 2464 พระเทพเมธี
พ.ศ. 2468 ชั้นเทพพิเศษที่พระโพธิวงศาจารย์
พ.ศ. 2472 พระธรรมปาโมกข์
พ.ศ. 2475 ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

ตำแหน่งพิเศษ 
1. แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล
2. รองแม่กองธรรมสนามหลวง
3. กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง
4. กรรมการมหาเถระสมาคม
5. กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย
6. กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน
7. รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต
8. เจ้าคณะตรวจการภาค 3 , 4 , 5
9. องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484
10. สังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

การปกครองวัด 
พ.ศ. 2447 เจ้าอาวาสวัดสุปัฎนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ. 2470 เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา มณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2475 เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2484 เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ
วัดสุปัฎนารามจังหวัดอุบลราชธานี


การทำคุณประโยชน์
1. ตั้งโรงเรียนภาษาไทย - บาลี ได้ตั้งโรงเรียนสอนบาลี - นักธรรม ที่วัดสุทธจินดา ได้รวบรวมหนังสือเก่าแก่ และโบราณวัตถุของชาวอีสานขึ้นไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่วัดสุปัฎนารามจังหวัดอุบลราชธานี จนได้เปิดเป็นสาขาหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่วัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2478

2. ถาวรวัตถุและการก่อสร้าง สร้างอาคารเรียน "โรงเรียนอุบลวิทยาคม" ที่วัดสุปัฎนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จด้วยแรงงานของพระภิกษุสงฆ์ หล่อพระพุทธรูป "พระสัพพัญญูเจ้า" อันเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฎนาราม สร้างพระอุโบสถวัดสุปัฎนาราม จังหวัดอุบลราชธานี กว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นกลางทรงเยอรมัน และชั้นล่างเป็นทรงขอม โบราณแบบนครวัด เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2460สำเร็จใน พ.ศ. 2473


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือประวัติและผลงานของคนเมืองอุบลราชธานีคนหนึ่ง ที่ถือกาเนิดในหมู่บ้านที่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีแหล่งเรียนรู้ หรือสถานศึกษาพอที่จะศึกษาหาความรู้ได้ แต่เนื่องเพราะเป็น “ผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้” จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษา เล่าเรียน เมื่อศึกษาหาความรู้ที่สานักวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนารามในปัจจุบัน) อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ได้ระยะหนึ่ง ก็หาโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้ที่กรุงเทพมหานคร จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ในด้านการปฏิบัติงาน ก็ประสบผลสาเร็จเป็นอย่างมากยิ่ง กล่าวคือ ในด้านการคณะสงฆ์ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดที่สาคัญๆ ถึง ๔ วัด ได้เป็นเจ้าคณะมณฑล ๔ – ๕ มณฑล ได้เป็นสังฆนายกองค์แรกของประเทศไทย ในด้านการศึกษา เป็นผู้ดาเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นในวัดต่างๆ ในบริเวณเมืองอุบลราชธานี และเมืองใกล้เคียงจานวนมาก จนเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น “ผู้บุกเบิกการศึกษาไทยในภาคอีสาน” รวมทั้งการตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจามณฑลอีสาน ด้านการศาสนา เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุขึ้นในวัดต่างๆ ขึ้นเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะการอบรมสั่งสอนประชาชนโดยการแสดงธรรมเทศนาในโอกาสและสถานที่ต่างๆ การเขียนหนังสือหรือบทความตีพิมพ์เผยแพร่ การสร้าง คติธรรมหรือคติพจน์อันเฉียบคม เพื่อเป็นข้อคิดหรือแนวปฏิบัติสาหรับประชาชนโดยทั่วกัน
ผลงานดังกล่าวมากด้วยปริมาณและคุณภาพ นับเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักที่ปุถุชนคนธรรมดาจะสามารถทาได้ พวกเราชาวเมืองอุบลราชธานีจึงพร้อมใจกันชื่นชมและยอมรับว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็น “ปราชญ์” ผู้สาคัญของเมืองอุบลราชธานีโดยแท้




Share this article :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2012 - 3012. GuidePhibun ไกด์ พิบูลมังสาหาร - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger